GGC เดินหน้าขับเคลื่อนกลยุทธ์สร้างรากฐานที่เข้มแข็ง สร้างความสามารถในการแข่งขันเติบโตในธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

237
0
Share:

 

นายไพโรจน์ สมุทรธนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในปี 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2563 คิดเป็น 15% โดยบริษัทฯ มีรายได้จากการขายรวมทั้งหมด 20,923 ล้านบาท มี Adjusted EBITDA จำนวน 1,121 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% ส่งผลให้ปี 2564 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ 774 ล้านบาท โดย GGC ยังคงยึดมั่นในพันธกิจหลักคือ การเป็นบริษัทแกนนำในธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Flagship Company) ของกลุ่ม GC ภายใต้วิสัยทัศน์ “To be a Leading Green Chemicals Company by Creating Sustainable Value” หรือ “เป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์เพื่อคุณค่าที่ยั่งยืน”

 

 

สำหรับทิศทางการดำเนินงานในปี 2565 บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นในการสร้างรากฐานที่เข้มแข็ง สร้างความสามารถในการแข่งขันในอนาคต เพื่อก้าวสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในระดับสากล ผ่าน 3 ยุทธศาสตร์สำคัญ คือ

ยุทธศาสตร์การยกระดับความสามารถในการแข่งขัน (Strengthen Business as Usual – BAU)
เพื่อให้ธุรกิจของบริษัทฯ มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการแข่งขันในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความท้าทายบริษัทฯ ต้องเร่งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและมีความยืดหยุ่น (Resilience) และสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง โดยมุ่งเน้นการสร้างฐานตลาดและการขายให้เข้มแข็ง, การบริหารจัดการด้าน Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพโดยบริหารจัดการต้นทุนได้ดีที่สุด และมุ่งเน้นการรักษาความมั่นคงด้านการผลิต (Plant Reliability) รวมถึงความเป็นเลิศด้านปฏิบัติการ (Operational Excellence)

ยุทธศาสตร์การเติบโตในธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Growth Portfolio)
ภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีความผันผวนและอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีการแข่งขันสูง บริษัทฯ พิจารณาการต่อยอดทางธุรกิจไปสู่ด้านเคมีภัณฑ์และพลาสติกชีวภาพมากขึ้น เพื่อลดแรงกดดันทางธุรกิจและสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ปัจจุบันมากขึ้น รวมถึงการตอบรับกับโอกาสทางธุรกิจจากแนวทางและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศต่างๆทั่วโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ชีวภาพ (Biochemicals) และพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) ยังเป็นหนึ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของ GC Group

ยุทธศาสตร์การสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ (Sustainability Development)
บริษัทฯ เล็งเห็นถึงโอกาสที่จะยกระดับการดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างจริงจังและมีการเชื่อมโยงโอกาสและต่อยอดทางธุรกิจมากขึ้น โดยการเป็นต้นแบบในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ทั้ง 3 มิติ (BCG Role Model)ผ่านการลงทุนในนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ การใช้พลังงานที่ไม่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization Pathway)และการปรับรูปแบบการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ (CSR) สู่รูปแบบการสร้างสมดุลทางธุรกิจขององค์กรด้วยการพัฒนากิจกรรม/โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน (CSV & SE Model) โดยใช้ Governance, Risk Management and Compliance (GRC) มาพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการจัดการภายใน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร

ปี 2565 บริษัท มุ่งพัฒนาสร้างรากฐานที่เข้มแข็งและเพิ่มความสามารถในอนาคต ดังนี้
•ความเป็นเลิศด้านปฏิบัติการ (Operational Excellence) : Plant reliability ให้อยู่ในระดับ 1st quartile, การใช้ Digitalization สนับสนุนการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
•การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) : การรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด การต่อยอดผลิตภัณฑ์ไปสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ผ่านกลุ่มสินค้า Home and personal care
•การเติบโตในธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Growth Portfolio) : การเพิ่มมูลค่าและเพิ่มตลาดปลายทางให้กับเชื้อเพลิงชีวภาพ, การขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)ที่ใช้วัตถุดิบจากผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ (Biochemicals), นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ระยะที่ 2 และการขยายธุรกิจ fatty alcohol ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
•การสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ (Sustainability) : การพัฒนา RSPO (RSPO development) บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม ในการสนับสนุนมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Round Table for Sustainable Palm Oil : RSPO) โดยบริษัทฯ มีการวางแผนในการทำงานร่วมกันกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (RSPO)

 

 

สำหรับกรณีปัญหาเรื่องวัตถุดิบคงคลังของ GGC ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2561 GGC ได้ดำเนินการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างโปร่งใส ดำเนินการตามกฎหมายโดยยึดหลักธรรมาภิบาล สำหรับความคืบหน้าและสถานการณ์ของคดีความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปัญหาวัตถุดิบดังกล่าว สรุปดังนี้

1.คดีอาญา GGC ได้มีการเร่งรัดติดตามให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อทำการสอบสวนและนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามขั้นตอนกระบวนการ นอกจากนี้ บริษัทฯ ก็ยังได้ให้ความร่วมมือกับ ก.ล.ต. ในการให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ ก.ล.ต. สามารถพิจารณาความผิดของผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ เนื่องจาก GGC เป็นบริษัทจดทะเบียนจนทำให้ ก.ล.ต. สามารถร้องทุกข์กล่าวโทษ อดีตผู้บริหาร 2 ราย คู่ค้า 5 ราย และผู้บริหารของคู่ค้าอีก 4 ราย รวมทั้งสิ้น 11 ราย ในเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา
2.คดีแพ่ง มีทั้งที่ GGC เป็นโจทก์ เป็นผู้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย และกรณีที่ GGC ถูกบริษัทคู่ค้าฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย กรณีที่ GGC เป็นโจทก์ เป็นกรณีที่ GGC ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทคู่ค้า และ ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากอดีตผู้บริหารที่ถูก ก.ล.ต. กล่าวโทษ กรณีที่ GGC เป็นจำเลย ถูกคู่ค้าฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม คือคดีที่ GGC ถูกบริษัท Asia Capital หรือ ACAP ฟ้องร้องและคดีที่คู่ค้าที่ถูกดำเนินคดีอาญามาฟ้องร้อง

“ จากความคืบหน้าและสถานการณ์ปัจจุบันของคดีความต่างๆ ที่ GGC ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น GGC ได้มีการดำเนินคดีทั้งในด้านอาญาร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนทำให้เรื่องเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับคู่ค้าและอดีตผู้บริหาร เพื่อให้มีการชดใช้ความเสียหายให้กับบริษัทฯ และยังสามารถชนะคดีได้ รวมถึงการที่ GGC ยืนยันที่จะต่อสู้คดีแพ่งที่ถูกฟ้องร้องให้ถึงที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ GGC และผู้ถือหุ้นของเราต้องได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากเหตุการณ์ปัญหาวัตถุดิบดังกล่าว ” นายไพโรจน์ กล่าวทิ้งท้าย

TagsGGC
Share: