“อี-คอมเมิร์ซ”…ตลาดใหญ่ไร้พรมแดน ช่องทางเพิ่มรายได้ของเอสเอ็มอี

856
0
Share:

ตลาดอะไรที่ใหญ่จนไร้พรมแดน คำตอบก็คือ  ตลาดอี- คอมเมิร์ซ นั่นเอง

ตัวเลขที่บ่งชี้ถึงการเติบโตของตลาดนี้มีมูลค่าถึง 294,000 ล้านบาท สูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ 220,000 ล้านบาท เติบโตถึง 81% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 35% ในสัดส่วนการเติบโตนี้มาจากการซื้อ-ขายในประเทศ 37% และซื้อขายข้ามพรมแดนถึง 63% จากข้อมูลของไพรซ์ซ่า ระบุตัวเลขของผู้ค้าใหม่ที่เข้ามาเปิดร้านในแพลตฟอร์มตลาดอี-มาร์เก็ตชื่อดังเป็นจำนวนมากถึง 50% ทั้งหมดนี้ยังไม่นับรวมแบรนด์ชื่อดังต่าง ๆ ที่เข้ามาในตลาดนี้เพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 46%

ข้อเด่นของตลาดอี-คอมเมิร์ซ คือ ง่าย สะดวก และจะซื้อสินค้าเมื่อไหร่ก็ได้ ทั้งยังไม่ต้องเดินทางออกไปนอกประเทศอีกด้วย

เข้าถึงพื้นที่ตลาดอี-คอมเมิร์ซก่อนรวยก่อน

แม้การซื้อ-ขายในโลกของอี-คอมเมิร์ซจะดูเหมือนง่ายแค่ปลายนิ้ว แต่ความซับซ้อนในเรื่องการขนส่ง การลงทุน บุคลากร หรือ การปฏิบัติงานที่ราบรื่นในการเชื่อมต่อระหว่างโลกออนไลน์และออฟไลน์ได้อย่างสมบูรณ์แบบนั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปิดช่องว่างระหว่างโลกอินเทอร์เน็ต และโลกของโลจิสติกส์ แม้การค้าขายในโลกออนไลน์จะช่วยส่งเสริมธุรกิจและเพิ่มช่องทางรายได้จำนวนมากให้กับผู้ค้า แต่ “โลจิสติกส์” กลับเป็นข้อจำกัดของเจ้าของธุรกิจในโลกออนไลน์เช่นกัน เราจึงพบว่าระบบขนส่งที่ทรงประสิทธิภาพได้กลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดไปโดยปริยาย

การเติบโตในส่วนการค้าข้ามประเทศ หมายถึงการขยายกลุ่มของผู้ซื้อที่อยู่นอกประเทศให้มากขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มยอดขายให้กับผู้ค้าอี-คอมเมิร์ซ เมื่อร้านค้าทำการค้าขายภายในประเทศได้เป็นอย่างดีแล้ว การมองหา ช่องทางการขยายตลาดไปสู่ระดับภูมิภาคโดยปรับใช้ประสบการณ์และความชำนาญที่มีอยู่ในการค้าขายในประเทศนั้น อาจเป็นหนทางใหม่ในการเติบโต ผู้ค้าที่สามารถเพิ่มประเภทสินค้าและเพิ่มลูกค้าที่อยู่นอกพื้นที่ได้ไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นการขยายตลาดการค้าในแนวนอน หรือ ปรับประเภทสินค้าในแนวตั้ง คือ ให้เป็นสินค้าเฉพาะทาง หรือ ใช้กลยุทธ์ไฮบริด เพื่อเข้าถึงลูกค้า กลยุทธ์แบบนี้เป็นประเภทของการดำเนินธุรกิจด้วยการใช้หลากหลายวิธีในการเข้าถึงลูกค้า

นินจาแวนกรุ๊ป ผู้ดำเนินธุรกิจขนส่งพัสดุรายใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ร่วมมือกับดีพีดีกรุ๊ป มอบหมายให้จีเอฟเค เป็นผู้ทำการสำรวจกลุ่มลูกค้าอี-คอมเมิร์ซใน 6 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ ผลสำรวจพบว่า ผู้บริโภคในกลุ่มสำรวจนี้นิยมซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ต่างประเทศเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้บริโภคในประเทศต่าง ๆ นิยมซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศในสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยประเทศเวียดนาม 74% สิงคโปร์ 67% ไทย 63% อินโดนีเซีย 62% ขณะที่มาเลเซีย 61% ในแบบสำรวจยังพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่พึงพอใจกับการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขายในประเทศเพื่อนบ้านแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสินค้าจากจีน ผลจากการสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่ดีในการขยายธุรกิจ เพราะผู้ซื้อส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเป็นอย่างดีผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องทำแผนโปรโมทให้ลูกค้ากลุ่มนี้ทำการสั่งซื้อสินค้าข้ามพรมแดนแต่อย่างใด

ผลการสำรวจของนินจาแวนกรุ๊ปและดีพีดีกรุ๊ป ยังสอดคล้องกับข้อมูลปริมาณพัสดุข้ามพรมแดนของนินจาแวนกรุ๊ปก่อนการระบาดของโควิด-19ระหว่างปี 2019-2020 อีกด้วย โดยตัวเลขการเติบโตของการขนส่งพัสดุข้ามพรมแดนของนินจาแวนกรุ๊ปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตสูงถึง 1,100% และตัวเลขการเติบโตของการขนส่งพัสดุข้ามพรมแดนในกลุ่มนินจาแวนกรุ๊ประหว่างปี 2020-2021 ยังคงขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสูงถึง 20% ทั้งที่มีการปิดพรมแดนในหลายจุด และหลายครั้งเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19

จากผลของการสำรวจยังพบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่ทำการสั่งซื้อส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง ใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้ง (ABS) พบว่า สิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรน้อยสุดแต่มีการซื้อต่อครั้งเฉลี่ยถึง 52 ดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ที่ 33 ดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วยเวียดนาม 26 ดอลลาร์สหรัฐ และไทย 25 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอินโดนีเซียใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งน้อยที่สุดคือ 18 ดอลลาร์สหรัฐ

ซื้อเยอะซื้อบ่อย คือ จุดเด่นที่น่าสนใจของผู้บริโภคในภูมิภาคนี้

ในหนึ่งสัปดาห์รับพัสดุมากกว่าหนึ่งชิ้น ข้อมูลจากผลสำรวจของนินจาแวนกรุ๊ป เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ดีถึงความถี่ และปริมาณการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ เพราะนินจาแวนกรุ๊ป จัดส่งพัสดุข้ามพรมแดนมากถึง 2 ล้านชิ้นต่อวันใน 6 ประเทศที่มีเครือข่ายของนินจาแวนกรุ๊ปครอบคลุมอยู่ถึง100%

การเติบโตที่เพิ่มขึ้นนี้ส่งผลให้  นินจาแวนกรุ๊ป ลงทุนเพิ่มศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ และ ระบบคัดแยกอัตโนมัติในสิงคโปร์และฟิลิปปินส์ รวมถึงลงทุนเพิ่มระบบการชั่งน้ำหนักที่ล้ำสมัย (Dimension weight and scanning) ที่อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นระบบที่สามารถตรวจวัดขนาดของกล่องพัสดุ และคำนวณน้ำหนักได้แม่นยำส่งผลให้คำนวณค่าขนส่งอย่างเป็นธรรมและประหยัดเวลา เพื่อลดปัญหาอุปสรรคของผู้ค้าในโลกออนไลน์กับการค้าขายข้ามแดน คือ ความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนธุรกิจหลายด้านให้เหมาะสมกับแต่ละตลาด เพราะตลาดในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายมาก การปรับเปลี่ยนให้ตอบรับกับประสบการณ์ของผู้ซื้อในแต่ละตลาดจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก ผู้ค้าควรทำความเข้าใจกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภค สกุลเงิน ภาษาในการสื่อสาร ความอ่อนไหวทางวัฒนธรรม ช่องทางการตลาด ต้องคำนึงว่ากลุ่มเป้าหมายจะหาเราเจอในช่องทางของโซเชียลมีเดียได้อย่างไร ช่วงเวลาในการสั่งซื้อของแต่ละประเทศ และรูปแบบการชำระเงินของลูกค้าในโลกออนไลน์ ความรอบรู้นี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน นอกจากนี้ นินจาแวนกรุ๊ป ยังแนะนำว่า ความซื่อสัตย์โปร่งใส คือ หัวใจของการค้าในโลกไร้พรมแดน การเข้าถึงง่ายของการแปลงสกุลเงิน ภาษี การขนส่งวันจัดส่งสินค้า และทางเลือกเสริมต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็น

จากจำนวนผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 9,000 คนใน6 ประเทศ ร้อยละ89 ต้องการทราบว่า บริษัทใดเป็นผู้จัดส่ง มากกว่าร้อยละ 50 ต้องการการขนส่งที่มีคุณภาพ ร้อยละ35 มีบริษัทที่ไว้วางใจอยู่แล้ว การที่รู้ว่าบริษัทใดเป็นผู้จัดส่งช่วยสร้างความอุ่นใจในพัสดุที่จะได้รับ

การติดตามพัสดุแบบเรียลไทม์และจัดส่งถึงที่คือ บริการที่ผู้ซื้อพอใจ

ผู้ค้าอี-คอมเมิร์ซ จะรู้สึกพอใจมากในการให้บริการรับส่งสินค้าที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้ นินจาแวนกรุ๊ป เห็นความสำคัญในการส่งพัสดุถึงมือของลูกค้าอย่างรวดเร็วและเป็นที่พึงพอใจเช่นกัน เราจึงได้มอบพร้อมมอบประสบการณ์ จัดส่งพัสดุข้ามพรมแดนที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน เพื่อให้ผู้ค้าอี-คอมเมิร์ซอย่างเต็มที่ เรามีการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยบริการที่ทรงประสิทธิภาพในด้านการรับและจัดเก็บสินค้าคงคลัง รวมถึงการจัดการตามคำสั่งซื้อ การบรรจุสินค้าตามคำสั่งซื้อ ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมและมีคุณภาพ ตลอดจนการส่งมอบสินค้าถึงมือผู้รับในเวลารวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ

 

Share: