Core Banking Transformation กับ 9 หลักคิด ชุบชีวิตแต้มต่อธนาคาร

806
0
Share:

เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าไปพร้อมกับความคาดหวังที่สูงขึ้นของลูกค้า ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของภาคการเงิน ธนาคารต่างก็ต้องเผชิญความกดดันในการเปลี่ยนแปลงตนเองไปพร้อมกับการสร้างคุณค่าใหม่ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง และด้วยความเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลและสตาร์ทอัพฟินเทค รวมไปถึงความต้องการของผู้บริโภคที่พุ่งสูงขึ้นในเรื่องบริการการธนาคารที่สะดวกและตอบโจทย์เฉพาะบุคคลนี้เอง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคารต้องเร่งปรับตัวเพื่อคงตำแหน่งในตลาด และสร้างแต้มต่อในการแข่งขันให้กับตนเอง

 

 

แพลตฟอร์มเทคโนโลยีหลักรุ่นต่อไป
ระบบซอฟต์แวร์ที่ก้าวหน้าล้ำสมัยสำหรับบริการทางการเงิน คือ แพลตฟอร์มเทคโนโลยีหลักรุ่นต่อไป ที่จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักสำหรับสถาบันทางการเงินต่างๆ ซึ่งออกแบบมาเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน เสริมสร้างประสบการณ์ลูกค้า และปลดล็อกการสร้างนวัตกรรม โดยแพลตฟอร์มเทคโนโลยีหลักรุ่นต่อไป (next-generation core) ที่จะสร้างแต้มต่อให้สถาบันการเงินแบบเดิมมุ่งสู่ความสำเร็จในอนาคตจะมีความสามารถดังนี้
● เสริมสร้างประสบการณ์ลูกค้า ด้วยการเพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อและการควบคุมโซลูชันที่เหมาะสมกับโครงสร้างระบบ ที่มอบประสบการณ์ไร้รอยต่อตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า
● เพิ่มประสิทธิภาพคนทำงานด้วยการยกระดับจุดแข็งของพนักงาน และสร้างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทรงประสิทธิภาพ พร้อมประสิทธิผล และด้วยขั้นตอนที่ลดความจำเป็นในการเขียนโปรแกรมลง ทำให้ทีมวิศวกร และนักพัฒนาสามารถพุ่งเป้าความสนใจไปยังการส่งมอบฟีเจอร์นวัตกรรมใหม่ และสร้างความแตกต่างให้กับคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ที่จะเสริมสร้างประสบการณ์โดยรวมให้กับลูกค้า
● ส่งเสริมให้เกิดแนวคิดการทำงานแบบทดลอง (experimental mindset) ด้วยการลดเวลาการปล่อย MVP (Minimum Viable Product) หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมไปถึงการลดเวลาการพัฒนาฟีเจอร์ส่วนย่อยของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วในตลาด (Existing Product Iteration) ซึ่งจะลดความเสี่ยงความล้มเหลวในการทำ “บิ๊กแบง” พร้อมเพิ่มความรวดเร็วและการเรียนรู้
● เพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนจากการทำโครงการการปฎิรูปโครงสร้างระบบ (Transformation) โดยทำให้ประโยชน์ที่คาดหวังต่างๆ ใช้งานจริงได้เร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่ายหน้างาน รวมไปถึงลดค่าใช้จ่ายด้านการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา
● เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศน์ทางเทคโนโลยีผ่าน Open Banking API ซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับการบูรณาการระบบ (System Integration) ที่ง่ายขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ในแต่ละด้าน (Best-of-Breed Technology) พร้อมกับระบบนิเวศน์ทางเทคโนโลยีปัจจุบัน

แพลตฟอร์มเทคโนโลยีหลักรุ่นต่อไป: หัวใจหลักผลักดันอุตสาหกรรม
แมมบู ประเทศไทย (Mambu Thailand) เผย 9 หลักคิดที่ธนาคารควรเดินตามในแผนงานการพัฒนาระบบไอทีหลักรุ่นใหม่ สู่เป้าหมายการเป็นหนึ่งในผู้เล่นตัวท็อปผู้ให้บริการด้านการเงินในยุคใหม่ โดยแมมบูขอเชิญชวนมาร่วมสำรวจดูว่าหลักการเหล่านี้ ว่าจะสามารถช่วยให้ธนาคารเติมโตและประสบความสำเร็จในยุคที่เรากำลังมุ่งสู่ความเป็นดิจิทัลในทุกๆวันนี้ อย่างไร ดังนี้

ผู้คนและสภาวะผู้นำ
1. เริ่มจนจบ ครบในใจ
วางแผนฉากทัศน์ในอนาคตที่ชัดเจน สามารถนำไปต่อยอดในการผลักดันกลยุทธ์ทางธุรกิจ และการมอบคุณค่าให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สร้างเส้นทางสู่จุดมุ่งหมายที่ทะเยอทะยาน รวมไปถึงภาพรวมของผลลัพธ์ในตอนท้าย ซึ่งจะกลายเป็นรากฐานของกระบวนการ Transformation
2. คิดก้าวใหญ่ เริ่มก้าวเล็ก
ลดความรู้สึกต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ด้วยการเริ่มจากความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่สามารถช่วยจัดการความเสี่ยง ลดค่าใช้จ่ายหน้างาน และทำให้สำเร็จได้เร็ว เช่น เริ่มก้าวแรกด้วยการสร้างคุณค่าทางการธนาคารดิจิทัลบนระบบไอทีใหม่นอกระบบเดิม ซึ่งจะทำให้เกิดการย้ายแนวคิดจากแกนเก่าสู่แกนใหม่ได้อย่างเป็นธรรมชาติต่อไป
3. วิน-วินถ้วนหน้า
ด้วยจุดมุ่งหมายในการสร้างความเข้าใจและการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญทั่วทั้งกลุ่มงานธุรกิจและเทคโนโลยี พยายามย้ำถึงเป้าหมายความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นไปที่ผลประโยชน์โดยตรงของการนำแพลตฟอร์ไอทีหลักใหม่มาใช้ในแต่ละทีม

เทคโนโลยี
4. เป็นเจ้าของโครงสร้างความแตกต่าง
ธนาคารควรเป็นเจ้าของทุกปัจจัยที่สร้างความแตกต่างในคุณค่าที่นำเสนอให้กับลูกค้า เช่น การนำแอพพลิเคชันและส่วนประกอบการใช้งานบริการธนาคาต่างๆ ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างผลลัพธ์ภาพรวมสุดท้ายที่แตกต่าง

5. อย่าเสียเวลาสร้างเองไปซะทุกอย่าง
ไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างหรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วทุกครั้ง ควรจัดการเพียงแต่สิ่งต้องเปลี่ยนแปลงเท่านั้น โดยแมมบูแนะนำให้ธนาคารยึดแนวคิด Composability ที่จะทำให้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด สามารถทำงานร่วมกันกับส่วนประกอบทางเทคโนโลยี ที่มีต้นทุนการพัฒนาที่ต่ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการพัฒนา
6. สร้างความแตกต่างรอบระบบหลัก
ในการสร้างแต้มต่อในการแข่งขัน องค์กรต่างๆ สามารถปรับใช้ความสามารถทางเทคโนโลยีในการบูรณาการ Component ต่างๆ ในระบบนิเวศน์เพื่อสร้างโครงสร้างระบบองค์รวมที่ไร้รอยต่อ (Seamless Architecture) ซึ่งอาจทำได้โดยการต่อยอดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ (Product Factory) ของแพลตฟอร์มไอทีหลักของธนาคารดิจิทัล ซึ่งเน้นไปที่ระบบการตั้งและกำหนดค่า (Configuration) มากกว่าการโค้ดดิ้ง สิ่งนี้ช่วยให้ฝ่ายธุรกิจสามารถมีส่วนรวมในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ดียิ่งขึ้น

โมเดลปฎิบัติการณ์
7. โอบรับแนวคิดเพื่อนวัตกรรม
ปลูกฝังแนวคิดเพื่อนวัตกรรมภายในองค์กรในทุกระดับ โดยอาจเริ่มจากแนวคิดการมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง การทำงานแบบ Agile และการแบ่งพัฒนางานเป็นส่วนย่อย (Iterative Approach) โดยมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ต่อเนื่องและส่งเสริมการลองผิดลองถูก โดยแนวคิดนี้จะช่วยให้องค์กรได้ประโยชน์จากความเร็วในการส่งมอบเข้าสู่ตลาดหรือการปรับปรุงระหว่างอยู่ในตลาด Composability และดิจิทัล โดยมีระบบไอทีแกนใหม่เป็นเบื้อหลัง
8. มองระยะยาว ทะยานสู่โมเดลการทำงาน End-to-end
ให้ฝ่ายธุรกิจสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาตั้งแต่ต้น โดยการดึงผู้ที่มีศักยภาพเข้าร่วมโครงการ Transformation รวมไปถึงการวางแผนในการสร้างเสริมศักยภาพ ความต่อเนื่อง และการคงรักษาทรัพย์สินทางปัญญา
9. อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือเพื่อ Transformation
ในบางครั้ง ผู้พัฒนาระบบภายใน และทีมจัดการโปรเจ็กต์อาจไม่มีกำลัง หรือ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสำหรับโปรเจ็กต์การธนาคารที่ซับซ้อนเพียงพอ ธนาคารจึงควรร่วมมือกับพาร์ทเนอร์และที่ปรึกษาที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในการแบ่งปันองค์ความรู้ หรือกำลังคนสำหรับงานที่ดำเนินตามปกติของภาคธนาคาร

คู่แข่ง ตลาด และพฤติกรรมนั้นเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ธนาคารปัจจุบันต่างถูกคาดหวังให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมแข่งขันได้อย่างทัดเทียมในอุตสาหกรรมที่ผู้ให้บริการ ด้านธนาคารรุ่นใหม่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งความคาดหวังนี้รวมไปถึง การส่งมอบประสบการณ์ ที่เหนือกว่าให้กับลูกค้า พร้อมการเติบโตต่อเนื่องในตลาด แมมบูหวังว่า หลักคิดในการทำ Core Transformation นี้จะช่วยให้สถาบันทางการเงินสามารถนำไปพัฒนาประสบการ์ณลูกค้า ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานไป จนถึงการนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาวต่อไป

Share: